ช่วงนี้นั่งไล่อ่านหนังสือเก่า ๆ ที่ดองไว้เพียบ หนึ่งในนั้นคือ หนังสือ The Art of Thinking Clearly: Better Thinking, Better Decisions
เหมือนว่าจะมีหนังสือแปลเป็นภาษาไทยด้วยนะครับ มีหลาย ๆ เรื่องที่น่าสนใจ แต่ข้อที่ชอบและนำมาบันทึกไว้คือ Social Loafing – Why teams are so lazy (SocialLazy) ? ว่าด้วยเรื่อง ความขี้เกียจของคนเมื่อมารวมกันเป็นสังคม
เริ่มต้นด้วยการยกตัวอย่างเรื่องของม้า
ทำไมม้าสองตัวที่วิ่งเร็วมาก ๆ เมื่อมาวิ่งพร้อมกัน กลับวิ่งไม่ได้เร็วไปกว่าม้าตัวเดียวเลย ยังไม่พอนะ ความเร็วกลับตกลงไปอย่างมาก
แถมยกตัวอย่างเมื่อคนมากกว่า 1 คนมาทำงานร่วมกัน
พบว่า ยิ่งจำนวนคนมากขึ้น ความพยายามของแต่ละคนก็ยิ่งลดลงดังนี้
- 2 คนพบว่าแต่ละคนจะทำงานประมาณ 93% จากที่ทำงานคนเดียว
- 3 คนพบว่าแต่ละคนจะทำงานประมาณ 85% จากที่ทำงานคนเดียว
- 8 คนพบว่าแต่ละคนจะทำงานประมาณ 49% จากที่ทำงานคนเดียว
ถ้าผลเป็นแบบนี้เราทำงานเป็นทีมกันไปทำไม ?
ถ้างานที่ไม่ซับซ้อนก็ทำงานคนเดียวได้ แต่โชคไม่ดีที่งานส่วนใหญ่มันจะซับซ้อน
จากหนังสืออธิบายว่า
การทำงานเป็นทีมนั้น นำมาจากประเทศญี่ปุ่น ในช่วงหลังสงครามโลก ชาวญี่ปุ่นทำงานเป็นทีมได้ผลออกมาที่ดีมาก ๆ เนื่องจากแต่ละคนนั้นมีความรับผิดชอบ ทำงานเต็มที่ ดังนั้นจึงได้ผลที่ดี
เมื่อทางตะวันตกมาเห็น ก็หยิบมาใช้งาน
แต่ผลที่ได้กลับตรงกันข้าม เนื่องจากแต่ละคนมีปัญหาเรื่องความรับผิดชอบ นั่นคือ แต่ละคนคิดว่ามีหลายคนทำงาน ดังนั้นเราทำงานเพียงพอให้เห็นว่า เราทำงาน ลงแรงหรือแอบขี้เกียจโดยไม่ให้คนอื่นรู้หรือสงสัย
ในหนังสือยกตัวอย่างของการแข่งชักเย่อ
จะพบว่ามีทั้งคนที่ออกแรงสุดชีวิต ออกแรงกลาง ๆ และไม่ออกแรงเลย ทำไมนะ ?
แต่มันจะได้ผลดีกับทีมขนาดเล็ก
แต่ละคนในทีมมีหน้าที่หรือความสามารถเฉพาะไปเลย ยกตัวอย่างเช่น
- มีคนเชี่ยวชาญเรื่องการออกแบบ
- มีคนเชี่ยวชาญเรื่องการพัฒนา
- มีคนเชี่ยวชาญเรื่องการทดสอบ
- มีคนเชี่ยวชาญเรื่องการ deploy
ผลที่ออกมาคือ แต่ละคนต่างมีหน้าที่ต่างกันอย่างชัดเจน ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี แต่ละคนไม่สามารถขี้เกียจได้เลย เพราะว่าผลที่ออกมาจะชัดเจนอย่างมาก
ในหนังสือยกตังอย่างการวิ่ง 4 x 100 เมตร
แน่นอนว่า ถ้าใครอู้หรือขี้เกียจมันเห็นผลชัดเจนอย่างมาก
ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า
คนเรานั้นเมื่อมาอยู่รวมกัน ทำงานด้วยกัน มักจะคิดว่า งานนี้มีคนอื่นทำด้วย ดังนั้นไม่จำเป็นต้องลงแรงเยอะหรอกนะ แถมถ้าเกิดปัญหาขึ้นมา ก็ไม่ต้องรับผิดชอบเพียงคนเดียว
แต่ถ้าต้องการให้คนในทีมขี้เกียจน้อยลง
ก็จำเป็นต้องมีการวัดผลของแต่ละคนที่ชัดเจนและตรงไปตรงมา พร้อมเปิดเผยกันอยู่อย่างเสมอ รวมทั้งการ motivate คนในทีม เช่นการนำ 3C มาประยุกต์ใช้คือ Collaboration, Content และ Choice การงานหรือเป้าหมายที่ท้าทาย หรือส่งผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก หรือมีรางวัลต่าง ๆ ตบท้ายอีกด้วย
ปล. ลองดูสิว่า ทีมที่เราทำงานเป็นรูปแบบนี้หรือเปล่านะ
“ถ้าเป็นอยู่ น่าจะถึงเวลาที่ต้องปรับเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ แล้วนะ”
ยังมีเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกนะ ลองไปอ่านกันดูครับ ได้เห็นในมุมแปลก ๆ เยอะเลย
Reference Websites
http://www.ontheagilepath.net/2016/01/lazy-team-members-about-social-loafing-and-ways-to-prevent-it-in-your-teams.html
http://meaningring.com/2016/04/04/social-loafing-by-rolf-dobelli/