มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก เริ่มจากการเล่าว่าเขาได้รับ feedback จากคนใช้งานเฟซบุ๊คว่า public content มีมากเกินไป ซึ่งกระทบการเห็น content ของเพื่อน หรือ ครอบครัว น้อยลง
public content คืออะไร
public content คือ เรื่องราวที่มาจากฝั่งธุรกิจ แบรนด์ และ ข่าวต่างๆ ซึ่งข้อมูลพวกนี้เริ่มมีมากขึ้น โดยเฉพาะช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสิ่งนี้อาจจะทำให้เฟซบุ๊คเปลี่ยนไปจากวันแรกที่เขาอยากให้เป็น นั่นก็คือ การเชื่อมทุกคนเข้าหากัน มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก กล่าวว่าเขาได้ดูผลงานวิจัยมากมายจากทั้งตัวเขาเอง และจากมหาวิทยาลัย ผลวิจัยสรุปว่าเวลาเราใช้โซเชียลมีเดีย เชื่อมต่อกับผู้คนที่เรารู้จัก จะทำให้เรามีความสุขมากขึ้น และส่งผลให้เรามีสุขภาพที่ดี
ซึ่งการเชื่อมต่อกับคนใกล้ตัวแบบนี้ จะดีกว่า การเสพสื่อที่เป็นแบบ passive (การเสพเนื้อหาอย่างเดียว ที่เราไม่ได้โต้ตอบ เช่น อ่านบทความเพื่อความรู้ หรือ ดูวิดีโอเพื่อความบันเทิง ถือว่าเป็น content แบบ passive)
ทั้งหมดนี้เป็นเหตุทำให้มาถึงจุดพีคของเรื่องนี้ก็คือ
ในปีนี้เฟซบุ๊คตัดสินใจที่จะทำให้ news feed มีเรื่องของครอบครัว และ เพื่อน มากขึ้นกว่าเดิม และเราจะได้เห็น content จาก ธุรกิจ แบรนด์ หรือข่าวต่างๆน้อยลง มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก คอนเฟิร์มว่า ยอด engagement ของเพจต่างๆจะลดลง และเวลาของคนที่อยู่ในเฟซบุ๊คก็อาจจะน้อยลงด้วยแต่ที่เขาคำนึงถึงคือ เวลาของคนที่อยู่ในเฟซบุ๊คจะต้อง “มีคุณค่ามากขึ้น”
พอเรื่องเป็นอย่างนี้ก็เรียกได้ว่าน่าจะเป็นฝันร้ายของคนทำเพจเฟซบุ๊ค ที่จากเดิมก็แข่งกันแทบตายอยู่แล้ว ต่อไปก็น่าจะมีคนเห็นน้อยลงไปอีก บางคนยังเข้าใจผิดว่า ถ้าเพจเฟซบุ๊คเรามีคน follow 1,000 คน ทุกคนจะเห็นสิ่งที่เราโพส ในความเป็นจริงแล้ว ถ้าโพสของเราไม่ได้มีดีอะไร เฟซบุ๊คจะจัดลำดับความสำคัญให้โพสไปอยู่ล่างๆของหน้า news feed คน follow 1,000 คน จะมีคนเห็นโพสไม่ถึง 50 คน และต่อไป อาจจะไม่ถึง 10 คน.. ดูแล้ว เทรนด์ของเฟซบุ๊คน่าจะไปทางความสัมพันธ์ระหว่างคน และ กลุ่มที่สนใจเรื่องนั้นๆมากขึ้น มากกว่าที่จะเป็นเรื่องสาธารณะ เพราะที่ผ่านมาเฟซบุ๊ค โดนโจมตีมาเสมอว่า เนื้อหาในเฟซบุ๊คมีคุณภาพน้อยลง มีแต่คนขายของ และไม่สามารถควบคุมเนื้อหาที่รุนแรงได้ ถึงขั้น live ฆ่าตัวตายก็มี
มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เราเห็นว่า ในโลกนี้ ในบางครั้ง เรื่องเงินก็ไม่ได้เป็นเรื่องแรกแต่สิ่งสำคัญดูเหมือนจะเป็นภาพใหญ่ที่เป็นความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งหมด
ถ้าเราต้องหนีจากตัวตนในวันแรกที่เราตั้งใจทำ เราก็เหมือนขายวิญญาณให้กับเงินและมาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก ก็คงคิดดีแล้ว ที่กล้าที่จะเลือกทางนี้ กล้าที่จะเลือกรับผิดชอบต่อจิตวิญญาณของตัวเอง..